วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติ คาราบาว

วงคาราบาวเกิดจากการก่อตั้งโดยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว กรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ 3 คน คือแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และไข่ - สานิตย์ ลิ่มศิลา ขึ้นที่นั่น ในปี พ.ศ. 2523 โดยคำว่า คาราบาว เป็นภาษาตากาล็อก คือภาษาพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แปลว่า ควาย หรือคนใช้แรงงาน ซึ่งทางฟิลิปปินส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นเกษตร โดยหมายจะเป็นวงดนตรีที่มีเนื้อหาเพื่อชีวิต
แอ๊ดได้มีโอกาสฟังเพลงของ เลด เซพเพลิน , จอห์น เดนเวอร์ , ดิ อีเกิ้ลส์ และ ปีเตอร์ แฟลมตัน จากแผ่นเสียงที่ไข่ได้สะสมไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาทั้ง 3 คนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คาราบาว เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของมหาวิทยาลัย โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์คในเนื้อหาที่สะท้อนสภาพปัญหาและความเป็นจริงของสังคม
เมื่อกลับมาเมืองไทย แอ๊ดและเขียวได้ร่วมกันเล่นดนตรีในเวลากลางคืน โดยกลางวันแอ๊ดทำงานอยู่ที่การเคหะแห่งชาติ ขณะที่เขียวทำให้กับบริษัทฟิลิปปินส์ที่มาเปิดในประเทศไทย ส่วนไข่ก็ขอลาออกจากวงและแยกตัวออกไปทำงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ที่ภาคใต้ ทั้งคู่ออกอัลบั้มชุดแรกของวง ในชื่อ ขี้เมา เมื่อปี พ.ศ. 2524 และแอ๊ดก็ได้ติดต่อวงโฮป ให้มาช่วยโปรดิวซ์ให้ในอัลบั้มชุดนี้ และทำให้คาราบาวเป็นที่รู้จักตั้งแต่อัลบั้มนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้มีสมาชิกในวงเพิ่มขึ้นมาอีก 1 คน คือ เล็ก - ปรีชา ชนะภัย จากวงเพรสซิเดนท์ และได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อชุด แป๊ะขายขวด โดยเล็กได้ชักชวนสมาชิกวงเพรสซิเดนท์บางส่วน รวมทั้ง อ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ มือเบสที่ตอนนั้นยังอยู่ในวงเพรสซิเดนท์ ให้มาเล่นเป็นแบ็คอัพของทั้ง 3 คน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง

รุ่งเรือง

วงคาราบาว เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในอัลบั้มชุดที่ 3 ในปี พ.ศ. 2526 จากอัลบั้มชุด วณิพก กับสังกัดอโซน่า ด้วยเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีทีมแบ็คอัพชุดเดิม คือสมาชิกกวงเพรสซิเดนท์ บางส่วน แต่ได้หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เข้ามาร่วมเล่นเครื่องเคาะ, เพอร์คัสชั่นให้ด้วย บทเพลงจากอัลบั้มนี้มีเนื้อหาที่แปลกแผกไปจากเพลงในยุคนั้น ๆ และดนตรีที่เป็นท่วงทำนองแบบไทย ๆ ผสมกับดนตรีตะวันตก มีจังหวะที่สนุกสนาน ชวนให้รู้สึกคึกคัก เต้นรำได้ จึงสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เธคได้เป็นเพลงแรกของไทย[1] ต่อมาในปลายปีเดียวกัน คาราบาวก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งได้ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ และ รัช - ไพรัช เพิ่มฉลาด เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในวง ในตำแหน่งมือกลอง และ มือเบสตามลำดับ แต่แอ๊ดกลับมีปัญหากับสังกัดอโซน่าในการทำเพลง เนื่องจากอโซน่าไม่อนุญาตให้วงคาราบาวไปอัดเสียงที่ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม และให้ใช้ห้องอัดของอโซน่าทั้งที่แอ๊ดรู้ว่าเครื่องมือไม่ทันสมัย รวมทั้งเป็นอัลบั้มแรกของทางวงที่ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศตามสื่อต่าง ๆ คือเพลง ท.ทหารอดทน และ ทินเนอร์ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายอย่างมาก
ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ รวมทั้งสมาชิกแบ็คอัพ คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ด้วย พร้อมกับวงเพรสซิเดนท์ อดีตวงดนตรีที่เล็กและอ๊อดเคยอยู่ และด้วยความโด่งดังของวงคาราบาวนั้น ได้ทำให้เล็กได้รับบทเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง หยุดหัวใจไว้ที่รัก ในปี พ.ศ. 2527
คาราบาวประสบความสำเร็จมากที่สุดในปลายปี พ.ศ. 2527 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มชุดที่ 5 ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ ซึ่งเป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยที่ขณะนั้นยังไม่มีใครทำลายได้[3] และเมื่อคาราบาวจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรก คือ คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ที่เวโลโดรม หัวหมาก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ก็มียอดผู้ชมถึง 60,000 คน แต่กลับเกิดเหตุสุดวิสัยคือผู้ชมขึ้นไปชมคอนเสิร์ตบนอัฒจันทร์ที่เลิกใช้งานแล้ว และมีผู้ชมตีกันกลางคอนเสิร์ต จนกลายเป็นนิยามว่า คาราบาวเล่นที่ไหนก็มีแต่คนตีกัน[4]แอ๊ดได้เตือนเรื่องความปลอดภัยของอัฒจันทร์เป็นระยะๆ ในที่สุดก่อนจบการแสดงครึ่งชั่วโมง และเหลือเพลงที่ยังไม่ได้แสดงอีก 3-4 เพลง รวมทั้งเพลง เรฟูจี ที่ สุรสีห์ อิทธิกุล และวงบัตเตอร์ฟลาย ต้องขึ้นไปขับร้องกับวงคาราบาวด้วย และ เพลงประจำคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย คือ เมด อิน ไทยแลนด์ อัฒจันทร์ก็ได้ถล่มลงมาทับผู้ชม จนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก แอ๊ดจึงประกาศยุติคอนเสิร์ตโดยทันที และเพลงสุดท้ายที่แอ๊ดร้อง คือ รอยไถแปร

สมาชิกคาราบาวยุคคลาสสิคทั้ง 7 คน ในอัลบั้ม เวลคัม ทู ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2530)
สมาชิกในวงคาราบาวในยุคนั้นเรียกว่า ยุคคลาสสิก มีสมาชิกในวงทั้งหมด 7 คน ประกอบไปด้วย
ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2533 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของวงคาราบาว โดยมีแอ๊ดเป็นผู้นำ โดยออกอัลบั้มออกมาทั้งหมด 5 ชุด ทุกชุดประสบความสำเร็จทั้งหมด ได้เล่นคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกา และในทวีปยุโรปหลายครั้ง รวมทั้งปี พ.ศ. 2528 วงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ ร่วมกันทั้งวง และ มีหลายเพลงของวงดนตรีคาราบาวที่ฮิตและติดอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ คาราบาวจนถึงปัจจุบัน เช่น เมด อิน ไทยแลนด์ , มหาลัย , เรฟูจี , บัวลอย (ถึกควายทุย ภาค 5) , คนจนผู้ยิ่งใหญ่ , ซาอุดรฯ , เจ้าตาก , เวลคัม ทู ไทยแลนด์ , กระถางดอกไม้ให้คุณ , คนหนังเหนียว , บาปบริสุทธิ์ , แม่สาย , ทับหลัง , รักทรหด เป็นต้น อีกทั้งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงไทยในด้านต่าง ๆ เช่นดังนี้
  1. วงคาราบาวเป็นศิลปินกลุ่มแรกของไทยที่มีโฆษณาลงในปกอัลบั้มและได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ในสังคม เช่นเครื่องดื่มโค้ก
  2. คอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของวง ทำโดยคนไทย ในปี พ.ศ. 2528 นับเป็นคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ครั้งแรกของไทย และ เป็นครั้งแรกที่มีการแสดงดนตรีในเวทีกลางแจ้ง
  3. อัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย ถึงแม้เพลงนี้จะไม่มีมิวสิกวีดีโอ แต่เมื่อเพลงได้ถูกเผยแพร่ออกไป และ ได้รับความนิยมถึงขีดสุด ทางรัฐบาลในขณะนั้นนำโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในเนื้อหาที่รณรงค์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย จึงได้จัดทำมิวสิกวีดีโอขึ้นมาต่างหากเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ไม่ได้ส่งเสริมการขายอัลบั้มแต่อย่างใด
แต่เพลงของวงคาราบาวบางเพลง แอ๊ดจะแต่งโดยมีเนื้อหาส่อเสียด จึงมักจะถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. สั่งห้ามนำไปเผยแพร่ออกอากาศอยู่เสมอ ในแต่ละอัลบั้ม เฉพาะในยุคก่อตั้งจนถึงยุคคลาสสิกจะมีเพลง ท.ทหารอดทนทินเนอร์ ในอัลบั้ม ท.ทหารอดทน , หำเทียม ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ , หำเฮี้ยน ในอัลบั้ม อเมริโกย , วันเด็ก , ผู้ทน , ค.ควาย ค.คน ในอัลบั้ม ประชาธิปไตย และ พระอภัยมุณี ในอัลบั้ม ทับหลัง

แยกย้าย และปัจจุบัน


สมาชิกวงคาราบาวยุคปัจจุบันในอัลบั้ม กำลังใจคาราบาว 30 ปี อัลบั้มที่ทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของวง
ในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีแยกตัวของสมาชิกวงคาราบาวยุคคลาสสิก โดยสมาชิกแต่ละคนได้แยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง มีดังนี้ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แยกออกไปทำอัลบั้มเดี่ยวในชื่อชุด ทำมือ + ก้นบึ้ง และ โนพลอมแพลม โดยมีอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ สมาชิกวงคาราบาวตามมาร่วมเล่นแบ็คอัพ, เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ได้แยกออกไปทำอัลบั้มเดี่ยวในชื่อชุด ดนตรีที่มีวิญญาณ และ ยังมีสมาชิกในวง 4 คนที่ได้แยกตัวเป็นอิสระออกไป คือ เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ซึ่งได้ออกอัลบั้มเดี่ยวคือชุด ก่อกวน รวมทั้ง เทียรี่ เมฆวัฒนา, อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ก็ได้แยกตัวออกจากวง และ ออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ ก่อนจะแยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวจริง ๆ ของแต่ละคน ส่วนทางวงคาราบาวก็ได้รับสมาชิกเพิ่มเข้ามา มาแทนที่ตำแหน่งที่ออกไปคือ ดุก - ลือชัย งามสม มือคีย์บอร์ด และ โก้ - ชูชาติ หนูด้วง มือกลอง ในอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ เมื่อปี พ.ศ. 2534 และ ยังคงออกอัลบั้มต่อมาเรื่อยๆ แต่ในปี พ.ศ. 2536 หมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ เข้ามาร่วมวงในตำแหน่งกีตาร์โซโล่ เล็กจึงจำต้องแยกตัวออกไป ต่อมาทางวงได้สมาชิกใหม่อีก 1 คน คือ น้อง - ศยาพร สิงห์ทอง ในอัลบั้มชุดที่ 15 แจกกล้วย เมื่อปี พ.ศ. 2538 และในปีเดียวกันนั้น วงคาราบาวมีอายุครบรอบ 15 ปี คาราบาวจึงได้ออกอัลบั้มชุดพิเศษ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันอีกครั้งของสมาชิกในยุคคาสสิกทั้ง 7 คน ในชื่อชุด หากหัวใจยังรักควาย โดยออกมาถึง 2 ชุดด้วยกัน และ มีการจัดคอนเสิร์ตปิดอัลบั้มคือ คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากคอนเสิร์ตนี้ชื่อเสียงและความนิยมของวงคาราบาวเริ่มซาลง เนื่องจากกระแสดนตรีที่เปลี่ยนไป แต่ทางวงก็ยังคงผลิตผลงานออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดย เล็ก - ปรีชา ชนะภัยเทียรี่ เมฆวัฒนา ที่แยกตัวออกไปได้กลับมาร่วมวงอีกครั้งตั้งแต่อัลบั้ม อเมริกันอันธพาล ในปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน มีเพลงดังในช่วงตกอับนี้คือเพลง บางระจันวันเพ็ญ ในอัลบั้มชุด เซียมหล่อตือ หมูสยาม และทางวงก็ได้รับสมาชิกใหม่คืออ้วน - ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย ในตำแหน่งมือกลอง , ขลุ่ย และ แซกโซโฟนตั้งแต่อัลบั้มชุด สาวเบียร์ช้าง ในปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีที่ทางวงวางจำหน่ายอัลบั้ม ลูกลุงขี้เมา ที่ทางวงจัดทำขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีของวง ทางวงได้ปรับไลน์อัพของวงไปเป็นลักษณะแบบปัจจุบัน เนื่องจากน้อง - ศยาพร สิงห์ทอง ได้ขอลาออกจากวงจากปัญหาเรื่องสุขภาพ และได้เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 ส่วนทางวงก็มีผลงานต่อมาอีก 3 ชุด โดยมีเหตุการณ์สำคัญระหว่างออกอัลบั้ม คือ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 มีกระแสข่าวออกมาว่า เนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของคาราบาว เพื่อผลประโยชน์ด้านการเมือง และเพื่อให้การบริหารจัดการในวงมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ วินิจ เลิศรัตนชัย ผู้บริหารบริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ในฐานะผู้จัดมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีของคาราบาวในวาระครบรอบ 30 ปีของวง ซึ่งแสดงเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2555 เพื่อโปรโมทอัลบั้ม กำลังใจคาราบาว 30 ปี ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว[5][6] โดยอัลบั้มชุดล่าสุดที่วงคาราบาวออกจำหน่าย คือ สวัสดีประเทศไทย ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2557
จนถึงปัจจุบันนี้ คาราบาวมีอัลบั้มทั้งสิ้น 28 ชุด ไม่นับรวมถึงอัลบั้มพิเศษของทางวงหรือของสมาชิกในวง หรือบทเพลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากนับรวมกันแล้วคงมีไม่ต่ำกว่า 100 ชุด มีเพลงไม่ต่ำกว่า 1,000 เพลง เป็นวงดนตรีที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดทั้งในวงการดนตรีทั่วไปและวงการเพลงเพื่อชีวิต เป็นที่รู้จักของผู้คนในสังคมทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ฟังเพลง หรือผู้ที่นิยมในเพลงเพื่อชีวิตเท่านั้น จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ตำนานเพลงเพื่อชีวิต

สมาชิก

สมาชิกปัจจุบัน

  • ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) : หัวหน้าวง , ร้องนำ , กีตาร์ , แต่งเพลงและดนตรี , ประสานเสียง (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน)
  • ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) : ร้องนำ , กีตาร์ , แต่งเพลงและดนตรีบางส่วน , ประสานเสียง (พ.ศ. 2525 - 2535 , 2538 - 2539 , 2541 - ปัจจุบัน)
  • เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) : ร้องนำ , กีตาร์ , ประสานเสียง (พ.ศ. 2526 - 2532 , 2538 - 2539 , 2541 - ปัจจุบัน)
  • เกริกกำพล ประถมปัทมะ (อ๊อด) : เบส , ประสานเสียง (พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน)
  • ลือชัย งามสม (ดุก) : คีย์บอร์ด , แตร, แอคคอร์เดียน , ร้องนำบางส่วน , ประสานเสียง (พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน)
  • ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี) : กีตาร์ , ประสานเสียง (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)
ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ หรือ หมี คาราบาว เกิดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2509 (50 ปี) ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อเล่นว่า หมี เป็นมือกีตาร์ของวงคาราบาวในยุคปัจจุบัน เข้าร่วมวงกับคาราบาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จากอัลบั้ม ช้างไห้ หมีมีสไตล์การเล่นกีตาร์ที่ดุดัน เช่น เพลง แร้งคอยเช กูวาร่าเปาบุ้นจิ้นกับคนตัดไม้แม่สาวเต่าหลวงพ่อคูณ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ทำให้คาราบาวเปลี่ยนจากดนตรีแนวเพื่อชีวิตแท้ ๆ ให้กลายเป็นแนวร็อก เห็นได้ชัดในเพลง ลุงขี้เมา ที่มีการเล่นเป็นร็อกแตกต่างจากในอดีตที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย เล่น ชอบเล่นในสไตล์บลู ฟั๊งก์ ในอดีตเคยเป็นมือกีตาร์ของ ฤทธิพร อินสว่าง , วง Up the earth band และ นอกจากเล่นกีตาร์ได้ดีแล้วยังเล่นแมนโดลินได้อีกด้วย ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้วมีลูกสาว 2 คนคือ ดาเรศ หุตะวัฒนะ และ ดารารัตน์ หุตะวัฒนะ ซึ่งปัจจุบันเป็นคอรัสให้กับคาราบาว และยังขายสุนัขที่ตลาดนัดสวนจตุจักร
  • ชูชาติ หนูด้วง (โก้) : กลอง, เครื่องเคาะ , เพอร์คัสชั่น (พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน)
ชูชาติ หนูด้วง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โก้ คาราบาว มือกลองของวงคาราบาว มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (69 ปี) ที่กรุงเทพมหานคร เป็นชาวไทยมุสลิม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โก้ ตีกลองในแนวเฮฟวี่ เมทัลและเคยร่วมเป็นสมาชิกในวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลต่าง ๆ มาแล้ว เป็นจำนวนมาก เช่น คาไลโดสโคปชัคกี้ ธัญญรัตน์ และ บลู แพลนเน็ต เป็นต้น เข้าร่วมวงคาราบาวในหน้าที่มือกลองในอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 และเข้ามาเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในอัลบั้ม สัจจะ ๑๐ ประการ จนถึงปัจจุบัน

อดีตสมาชิก

  • สานิตย์ ลิ่มศิลา (ไข่) : กีตาร์ (ร่วมก่อตั้งวงแต่ไม่ได้ออกอัลบั้ม)
  • ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) : เบส (พ.ศ. 2526 - 2527) (เสียชีวิต)
  • ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (เล็ก , ธนิสร์) : คีย์บอร์ด , แซกโซโฟน , ขลุ่ย , ร้องนำบางส่วน , ร้องประสาน (พ.ศ. 2526 - 2531 , พ.ศ. 2538 - 2539 , พ.ศ. 2554 - 2555;ร่วมวงในโอกาสครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
  • อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) : กลอง , เพอร์คัสชั่น (พ.ศ. 2526 - 2532, พ.ศ. 2538 - 2539)
  • กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) : กีตาร์ , ร้องนำ , คีย์บอร์ด , ประสานเสียง (พ.ศ. 2524 - 2533 , พ.ศ. 2538 - 2539 , พ.ศ. 2541 , พ.ศ. 2550 , พ.ศ. 2554 - 2555)
ศยาพร สิงห์ทอง (ชื่อเล่น : น้อง : 19 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม - 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 (50 ปี)หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้อง คาราบาว เป็นอดีตสมาชิกวงคาราบาว จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) น้องเคยร่วมงานกับวงดนตรีและนักดนตรีต่าง ๆ มามากมาย อาทิ ฟรีเบิร์ดส , ฤทธิพร อินสว่าง , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ ยิ่งยง โอภากุล หรือ อี๊ด พี่ชายฝาแฝดของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว (หัวหน้าวง) เข้าร่วมวงคาราบาวในฐานะมือกลองเพอร์คัสชั่นและร้องประสานเสียง ตั้งแต่อัลบั้มชุด แจกกล้วย ในปี พ.ศ. 2538 ชีวิตส่วนตัว น้องสมรสแล้วและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเล่นว่า อะตอม น้องได้ขอลาออกจากวงไปในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากป่วยเป็นระยะเวลานานและได้เสียชีวิตไปในเวลาเช้าของวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลงานสตูดิโออัลบั้ม

เฉพาะสตูดิโออัลบั้มภาคปกติของวงคาราบาว มีดังนี้
อัลบั้มยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2524 - 2526)
อัลบั้มยุคคลาสสิค (พ.ศ. 2527 - 2531)
อัลบั้มยุคหลัง (พ.ศ. 2533 - 2541)
อัลบั้มยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน)

คอนเสิร์ตครั้งใหญ่

ชื่อคอนเสิร์ตวันที่สถานที่หมายเหตุศิลปินรับเชิญ / ร่วมกับ
คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528เวโลโดรม สนามกีฬาหัวหมากคอนเสิร์ตเล่นไม่จบ เนื่องจากอัฒจันทร์ถล่มก่อนพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว27 ธันวาคม พ.ศ. 2530สนามกีฬากองทัพบกมีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ ชีวิตสัมพันธ์
ฅนคาราบาว บันทึกประวัติศาสตร์ เวทีสุดท้าย25 พฤษภาคม - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง เซ็นเตอร์
คอนเสิร์ตปิดทองหลังพระ25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539อินดอร์สเตเดี้ยม สนามกีฬาหัวหมาก
คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์25 ธันวาคม พ.ศ. 2542สนามราชมังคลากีฬาสถาน
คอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว21 กุมภาพันธ์ - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ เพลงไม่มีวันตาย
คอนเสิร์ตเพื่อช้าง24 กันยายน พ.ศ. 2547อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
เมด อิน ไทยแลนด์ สังคายนา14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
นาวาคาราบาว30 เมษายน พ.ศ. 2548หอประชุมกองทัพเรือมีบทเพลงพิเศษได้แก่ วอลซ์นาวี, พรานทะเล, เนวี่บูล
หนุ่มบาว + สาวปาน5 มิถุนายน พ.ศ. 2549ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ร่วมกับ ธนพร แวกประยูรธนพร แวกประยูร
มนต์เพลงคาราบาว7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
บาวเบญจเพส1 ธันวาคม - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550
The Diary of Carabao Concert16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551โบนันซ่า เขาใหญ่ธนพร แวกประยูร
คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
BAO + PARN BIG MATCH CONCERT20 มีนาคม พ.ศ. 2553ยามาฮ่า สเตเดี้ยม เมืองทองธานีร่วมกับ ธนพร แวกประยูร
VELODROME RETURNS19 มีนาคม - 20 มีนาคม พ.ศ. 2554เวโลโดรม สนามกีฬาหัวหมาก
CARABAO NEW YEAR EXPO21 ธันวาคม - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
กินลม ชมบาว9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556บ้านไร่สัตหีบ (บ้านของ แอ๊ด คาราบาว)มีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ กินลม ชมบาว
35 ปี คาราบาว27 สิงหาคม พ.ศ. 2559อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานีมีบทเพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต ชื่อ 35 ปี คาราบาว

ผลงานภาพยนตร์ ละคร และรายการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น